อก. ลงนาม MOU ร่วมสาธารณรัฐเกาหลี ยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4.0


กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน ของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน (MOU) จัดตั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนการลงทุนและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ด้านความร่วมมืออุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรม 4.0 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นางยู เมียง-ฮี รัฐมนตรีว่าการด้านการค้า กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน (MOU) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ต่อยอดเพิ่มเติมจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และ ความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ในอันที่จะเชื่อมโยงนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย กับนโยบายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy – NSP) ของเกาหลีที่มีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับอาเซียนเป็นรายประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของเกาหลี อาทิ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เศรษฐกิจชีวภาพ (เคมีชีวภาพ ชีวเภสัชภัณฑ์) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับสาขาที่เกาหลีมีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ โดยจะได้ผลักดันความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานฝ่ายเกาหลี เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้มอบหมายไว้

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน ของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน (MOU) จัดตั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม สนับสนุนการลงทุนและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ด้านความร่วมมืออุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรม 4.0 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นางยู เมียง-ฮี รัฐมนตรีว่าการด้านการค้า กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน สาธารณรัฐเกาหลี ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของประเทศเกาหลี ลงนามบันทึกความเข้าใจระดับหน่วยงาน (MOU) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ต่อยอดเพิ่มเติมจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี และ ความร่วมมือประเทศลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ในอันที่จะเชื่อมโยงนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย กับนโยบายนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy – NSP) ของเกาหลีที่มีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับอาเซียนเป็นรายประเทศ เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของเกาหลี อาทิ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เศรษฐกิจชีวภาพ (เคมีชีวภาพ ชีวเภสัชภัณฑ์) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่สอดคล้องกับสาขาที่เกาหลีมีศักยภาพในการเข้ามาลงทุน ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ โดยจะได้ผลักดันความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานฝ่ายเกาหลี เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้มอบหมายไว้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!